วันจันทร์ที่ 9 มกราคม พ.ศ. 2555

เชาว์ปัญญาความคิดสร้างสรรค์
ความหมายของเชาว์ปัญญา
           เชาว์ปัญญา หมายถึง ความสามารถที่จะใช้ความคิดแบบเป็นเหตุเป็นผลเพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์ ในด้านต่างๆ เช่น การเรียนรู้ การแก้ปัญหา และการปรับตัวให้เข้ากับสิ่งแวดล้อมอย่างมีประสิทธิภาพ
           ทฤษฎีเชาว์ปัญญา มีหลายทฤษฎี เช่น ทฤษฎีองค์ประกอบเดี่ยวเชื่อว่าเชาว์ปัญญา คือความสามรถในการคิดแบบนามธรรม  ทฤษฎีสององค์ประกอบยังแบ่งความสามารถของเชาว์ปัญญาออกเป็น 2 องค์ประกอบ คือองค์ประกอบทั่วไป และองค์ประกอบเฉพาะ ทฤษฎีหลายองค์ประกอบของ เธอร์สโตน เสนอความสามารถสมองออกเป็น 7 ด้าน ทุกทฤษฎีต่างก็มีประโยชน์และเป็นพื้นฐานในการสร้างเครื่องมือวัดเชาว์ปัญญา

การวัดเชาว์ปัญญา
ระดับ I.Q.
(เชาว์ปัญญา)
ความหมาย
ความสามารถทางการเรียนและการงาน
การแจกแจงเป็นจำนวน(%)จากกลุ่มคน
ปกติ
140 ขึ้นไป
ฉลาดมากหรืออัจฉริยะ
สามารถเรียนได้ถึงปริญญาเอก เป็นนักวิทยาศาสตร์ชั้นสูง เป็นผู้นำในอาชีพต่างๆ

1%
120 - 139
ฉลาด
สามารถสำเร็จได้ปริญญาจากมหาวิทยาลัย ทำงานอาชีพชั้นสูง

11%
110 - 119
ค่อนข้างฉลาด
เรียนจบมัธยมและมีโอกาสจบมหาวิทยาลัย ได้ทำงานกึ่งวิชาชีพ

18%
90 – 109
ปานกลาง
มีความสามารถระดับปานกลาง เรียนจบมัธยม ทำงานอาชีพใช้ความชำนาญธรรมดา

46%
80 – 89
ค่อนข้างทึบ
เรียนจบประถมศึกษาได้ทำงานพวกค้าขาย เป็นกรรมกร
15%
70 – 79
เชาว์ปัญญาทึบ
มีโอกาส 50% ที่จะจบประถมศึกษา ทำงานเป็นกรรมกรแรงงานหรือเป็นลูกมือผู้ช่วยได้

6%
60 - 69
ปัญญาอ่อน
ต้องได้รับการสอนเป็นพิเศษจึงจะอ่านออกเขียนได้ ทำงานประเภทไม่ใช้ความคิดหรืองานฝีมือง่ายๆได้




ต่ำกว่า 70ลงไปมีประมาณ 3%
20 – 49

ปัญญาอ่อนขนาดกลาง

มีความสามารถเทียบเท่ากับเด็ก 6-7 ปีพอช่วยเหลือตนเองได้บ้าง
ต่ำกว่า 20
ปัญญาอ่อนขนาดหนัก
ทำงานบ้านเล็กๆน้อยๆได้ ไม่สามารถเรียนในโรงเรียนธรรมดาได้ ไม่สามารถจะเรียนหรือดูแลตนเองได้


ประโยชน์ของเชาว์ปัญญา
1.ในด้านความรู้  สามารถปรับตัวและแก้ไขเหตุการณ์ที่อยู่ในสังคมได้
2.ในด้านการแนะแนวการศึกษาอาชีพ ครูจะสังเกตเชาว์ปัญญา ความถนัด ความสนใจของเด็กเพื่อแนะแนวการศึกษาได้

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น