วันจันทร์ที่ 9 มกราคม พ.ศ. 2555

ทฤษฏีพัฒนาการ
ความหมายและความสำคัญของทฤษฏีพัฒนาการ
          ทฤษฏีพัฒนาการคือ คำอธิบายที่เป็นผลสรุปจากการศึกษาพัฒนาการและพฤติกรรมมนุษย์ ทุกทฤษฏีจัดตั้งอยู่บนพื้นฐานความเชื่อบางประการ การศึกษาทฤษฏีต่างๆ ที่เกี่ยวกับพัฒนาการจะช่วยให้ผู้ศึกษาเข้าใจลักษณะของพัฒนาการแต่ละช่วงวัย ในบทนี้จะขอเสนอทฤษฏีพัฒนาการบางทฤษฏี เพื่อประโยชน์ในการทำความเข้าใจ ทฤษฏีที่จะกล่าวถึงได้แก่                                                                                                           
      1.) ทฤษฏีวุฒิภาวะ (Maturation Theories)
          ทฤษฏีนี้ได้อธิบายแบบแผนการเจริญเติบโต และพัฒนาการที่แตกต่างกันไปตามอายุ โดยมีความคิดอยู่บนพื้นฐานที่ว่า พัฒนาการของมนุษย์เป็นผลมาจากพันธุกรรม ทฤษฏีนี้ได้รับอิทธิพลจากทฤษฏีวิวัฒนาการของ ชาร์ล ดาร์วิน (Charies Darwin , 1809-1882)
      2.) ทฤษฏีจิตวิเคราะห์ของฟรอยด์ (Freud’s Psychoanalytic Theory)
           ทฤษฏีจิตวิเคราะห์นับได้ว่าเป็นทฤษฏีที่มีอิทธิพลอย่างยิ่งต่อการศึกษาพัฒนาการของมนุษย์ โดยที่ ฟรอยด์ เป็นผู้หนึ่งที่เห็นความสำคัญของประสบการณ์และสิ่งแวดล้อมในวัยเด็กว่ามีผลต่อลักษณะพัฒนาการ และบุคลิกภาพในวัยเจริญเติบโต เขาเชื่อว่า 5 ปีแรกของชีวิตจะมีความสำคัญกับพัฒนาการทางบุคลิกภาพมากที่สุด และพัฒนาการทางบุคลิกภาพเป็นไปตามลำดับขั้นตอน เรียกว่า ขั้นพัฒนาการทางเพศ (Psychosexual stages) มี 5 ระยะ
          (2.1)   ระยะปาก เริ่มตั้งแต่ 0-1 ขวบ ในวัยนี้เด็กจะได้รับความสุขจากกิจกรรมที่เกี่ยวข้องกับปาก ถ้าเด็กได้รับความสุขโตขึ้นมาจะมองโลกในแง่ดีและมีความไว้วางใจ ในทางตรงข้ามถ้าเด็กไม่ได้รับความสุข และความรัก เด็กจะมองโลกในแง่ร้าย ขาดความไว้วางใจผู้อื่น
         (2.2)  ระยะขับถ่าย ตั้งแต่ 2-3 ขวบ แหล่งที่จะทำให้เด็กเกิดความสุขคือ ทวาร กิจกรรมของเด็กในระยะนี้ แบ่งออกได้ 2 ตอน คือ ตอนกลั้นอุจาระ และตอนถ่ายอุจาระ เช่น ถ้าเด็กพอใจกับการกลั้นอุจาระ พอโตอาจจะเป็นคนขี้เหนียว แต่ถ้าพอใจกับการถ่ายอุจาระ โตขึ้นมาจะเป็นคนเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่
         (2.3) ระยะอวัยวะสืบพันธุ์ ตั้งแต่อายุ 3-5 ขวบ แหล่งที่ทำให้เด็กพอใจคืออวัยวะสืบพันธุ์คือเด็กจะเกิดความรู้สึกรัก และผูกพัน กับพ่อหรือแม่ที่เป็นเพศตรงข้ามกับตน
         (2.4)   ระยะฟักตัวหรือระยะแฝง ตั้งแต่อายุ 6-13 ปี เป็นระยะเงียบสงบ และมีพัฒนาการทักษะแตกต่าง เด็กจะค่อยๆแยกตัวจากพ่อ-แม่ไปสู่สังคม
        (2.5)  ระยะลักษณะเพศขั้นทุติยภูมิ เริ่มตั้งแต่ วัยรุ่นเป็นต้นไป สิ่งที่สำคัญในวัยนี้คือ วัยรุ่นจะเป็นวัยที่จะมีการเปลี่ยนแปลงทั้งทางร่างกาย และจิตใจ เช่น ปรับตัวให้เข้ากับเพศตรงข้าม เลียนบทบาททางเพศ ผูกพันกับเพศตรงข้าม
   3.)ทฤษฏีพัฒนาการทางจิตสังคม                                  
           อีริก อิริกสัน (Erik Erikson) เป็นนักจิตวิทยาในกลุ่มจิตวิเคราะห์ เขาสนใจทฤษฏีของ ฟรอยด์ และเป็นลูกศิษย์ของฟรอยด์ อีริกสันเน้นความสำคัญ ของความสำคัญและความต้องการทางจิตสังคม เขาเน้นว่าสิ่งแวดล้อมมีความสำคัญต่อพัฒนาการ โดยเฉพาะบุคคลแวดล้อม
   อิริกสัน  ได้แบ่งพัฒนาการตามความต้องการทาวสังคมทางบุคคล ออกเป็น 8ขั้น ดังนี้


ลำดับ
ขั้น
    
อายุ
บุคคลแวดล้อม
ปฏิบัติดี
พัฒนาการที่จะ
เกิดขึ้น
บุคคลแวดล้อม
ปฏิบัติไม่ดี
พัฒนาการที่จะ
เกิดขึ้น
บุคคล
แวดล้อม
ที่มีอิทธิพลต่อ
บุคคล
วิธีปฏิบัติต่อบุคคล
วัยต่างๆ
ขั้นที่
1
แรกเกิดถึง
1 ปี
ความไว้วางใจ
ความไม่ไว้วางใจ
พ่อแม่หรือบุคคลที่ทำหน้าที่แทน
พ่อแม่ต้องให้ความรักความอบอุ่น
ขั้นที่
2
2-3 ปี
ความมั่นใจในตัวเอง
ความอิสระทางความคิด
ความสงสัยไม่แน่ใจ ไม่มั่นใจในตัวเอง
พ่อ แม่ พี่เลี้ยง
เปิดโอกาสให้เด็กได้แสดงความคิดและทำสิ่งต่างๆด้วยตนเอง
ขั้นที่
3
3-5  ปี
ความคิดริเริ่ม
สร้างสรรค์
ความรู้สึกผิด
ครู พ่อ แม่
เปิดโอกาสให้เด็กได้แสดงความคิดและลองทำตามความคิดนั้น
ขั้นที่
4
6-11 ปี
ความรู้สึกขยัน
หมั่นเพียรและความภาคภูมิใจในตนเอง
ความรู้สึกด้อย น้อยเนื้อต่ำใจ
พ่อ แม่ ครู
พยายามให้ความชื่นชม ความสามารถหรือความดีบางอย่างในตัวเด็ก
ขั้นที่
5
12-20 ปี
ความเป็นเอกลักษณ์
ความสับสนในบทบาทตนเอง
เพื่อน พ่อ แม่ ครุ
เป็นที่ปรึกษาที่ดีและเข้าใจเมื่อเด็กมีพฤติกรรมเปลี่ยนไป
ขั้นที่
6
วัยผู้ใหญ่ตอนต้น
20-35 ปี
ความรู้สึกผูกพันใกล้ชิด
ความอ้างว้างเปล่าเปลี่ยว
คู่รัก เพื่อนสนิท
การเป็นคู่รักที่ดี การเป็นเพื่อนที่ดี
ขั้นที่
7
วัยผู้ใหญ่ตอนปลาย35-60 ปี
ความรู้สึกมั่นคงทำประโยชน์ให้สังคม
ความรู้สึกคิดถึงตนเอง
คู่ชีวิต ลูก เจ้านาย เพื่อนร่วมงาน
เป็นคู่ชีวิตที่ดี เป็นลูกที่ดี
ขั้นที่
8
วัยชรา 60 ปีขึ้นไป
ความรู้สึกสมบูรณ์ในชีวิต
ความรู้สึกสิ้นหวังทอดอาลัย
ลูกหลาน บุคคลวัยเดียวกัน
การดูแลเอาใจใส่คนชรา


     
     4.)  ทฤษฏีพัฒนาการทางสติปัญญา และความคิด (Cognitive Development Theory)
          ผู้สร้างทฤษฏีนี้คือ นักจิตวิทยาชาวสวิส ชื่อ จีน พีอาเจต์  เขาพบว่าวิธีการคิดและการให้เหตุผลในสิ่งต่างๆของเด็กน่าสนใจมาก จึงได้ศึกษาพัฒนาการทางความคิดขึ้นในบ้าน โดยสังเกตพฤติกรรมบุตรชาย หญิงของตน และเขาได้แบ่งพัฒนาการด้านสติปัญญา และความคิดออกเป็น 4 ขั้น
         (4.1) ขั้นสติปัญญา
         (4.2)การบรรลุถึงขั้นสติปัญญาขั้น 1 จะเป็นรากฐานสำหรับพัฒนาการด้านสติปัญญาขึ้นต่อไป
         (4.3) ระดับขั้นของพัฒนาการด้านสติปัญญา
         (4.4)ขั้นพัฒนาการทางด้านสติปัญญาและความคิด แต่ละขั้นรากฐานของพัฒนาการทางสติปัญญาต่อไป
    5.)  ทฤษฏีพัฒนาการทางจริยธรรม (Moral Development Theory)
      ทฤษฏีพัฒนาการนี้ คือทฤษฏีของ  ลอเรนซ์ โคลเบิร์ก   เขาได้พัฒนาทฤษฏีของเขาขึ้น ทฤษฏีของ โคลเบิร์ก เป็นทฤษฏีที่มีรากฐานมาจาก ทฤษฏีของ พีอาเจต์  โคลเบิร์กได้แบ่งพัฒนาการออกเป็น 3 ระดับแต่ระดับแบ่งออกเป็น 2 ขั้นตอนดังต่อไปนี้
   ระดับที่ 1ระดับก่อนเกณฑ์สังคม ในระดับนี้เด็กจะได้รับกฎเกณฑ์ของพฤติกรรม ดี  พฤติกรรม ไม่ดี
      จากผู้มีอำนาจเหนือตน และโคลเบิร์กได้แบ่งพัฒนาการระดับนี้ออกเป็น 2 ขั้น คือ
         (1.1)การลงโทษและการเชื่อฟัง อายุ 2-7 ปี เด็กจะเคารพกฎเกณฑ์เพื่อหลีกเลี่ยงการลงโทษ
         (1.2)กฎเกณฑ์เป็นเครื่องมือเพื่อประโยชน์ของตน อายุ 7-10 ปี เด็กจะเริ่มกระทำในสิ่งที่พอใจ
   ระดับที่ 2ระดับจริยธรรมตามกฎเกณฑ์สังคมเป็นพัฒนาการที่ผู้ทำถือว่าประพฤติตนตามความคาดหวังของผู้ปกครอง ระดับนี้แบ่งออกเป็น 2 ขั้น คือ
        (2.1) ความคาดหวังและการยอมรับในสังคมสำหรับเด็กดี
        (2.2) กฎและระเบียบ                               
ระดับที่ 3ระดับจริยธรรมตามหลักการด้วยวิจารณญาณหรือระดับเหนือกฎเกณฑ์สังคม พัฒนาการระดับนี้
           ผู้ทำได้พยายามจัดตีความหมายของหลักการ และการตัดสินใจ ถูก” “ผิด ไม่ควร  มาจาก   วิจารณญาณของตนระดับนี้แบ่งออกเป็น 2 ขั้น คือ
   (3.1)  สัญญาสังคม
   (3.2)   หลักการคุณธรรมสังคม

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น