วันจันทร์ที่ 9 มกราคม พ.ศ. 2555

ความพร้อมและแรงจูงใจ
ความหมายของความพร้อม
           ความพร้อม คือ สภาวะที่บุคคลพร้อมด้วยประการทั้งปวงที่จะกระทำสิ่งใดสิ่งหนึ่ง ได้อย่างสมบูรณ์ที่สุด ในการเรียนรู้ความพร้อม หมายถึง สภาวะที่บุคคลพร้อมที่จะเรียน ซึ่งประกอบไปด้วย ความพร้อมทางด้านร่างกาย สติปัญญา อารมณ์ และสังคม ถึงระดับที่จะปฏิบัติงานได้บวกกับความรู้พื้นฐาน
           ความพร้อมเป็นองค์ประกอบที่สำคัญที่สุดอย่างหนึ่งของการเรียนรู้  องค์ประกอบของความพร้อมมี 2ประการ คือ 1.องค์ประกอบภายในผู้เรียน ได้แก่ วุฒิภาวะและประสบการณ์เดิม    2.องค์ประกอบภายนอกผู้เรียน
แนวความคิดของนักจิตวิทยาเกี่ยวกับความพร้อม
           นักจิตวิทยาได้มีความคิดเห็นเกี่ยวกับความพร้อมแตกต่างกันเป็น 2 กลุ่ม สรุปได้ดังนี้
                กลุ่มที่ 1เชื่อว่า ความพร้อมเป็นเรื่องธรรมชาติไม่ใช่สิ่งที่เร่งได้ มีตั้งแต่สมัย รุสโซ ซึ่งเป็นผู้ที่เชื่อเรื่องนี้อย่างมาก 
                กลุ่มที่ 2เชื่อว่า ความพร้อมสามารถเร่งให้เกิดขึ้นได้ โดยการจัดประสบการณ์ให้ไม่จำเป็นต้องรอให้เด็กพร้อม
 ประโยชน์ต่อการจัดการเรียนการสอน
1. การเลี้ยงดูควรปล่อยให้เป็นอิสระ ไม่เข้มงวดจนเกินไป
2. โรงเรียนควรจะจัดประสบการณ์ให้เด็กได้มีทางเลือกให้มาก ถ้าสิ่งที่เรียนตรงกับความสนใจของผู้เรียนและจะเรียนได้ผลดี
3. ไม่ควรแบ่งกลุ่มตามระดับสติปัญญา
4. เน้นบทบาทครูให้เป็นผู้มีความสำคัญในกระบวนการเรียนการสอน
5.ทำให้เกิดการเรียนการสอนโดยใช้บทเรียนโปรแกรม หรือเครื่องช่วยการสอนเป็นรายบุคคล
ความหมายของแรงจูงใจ
            แรงจูงใจ หมายถึง พฤติกรรมที่ถูกกระตุ้นโดยความต้องการทั้งภายนอกและภายใน ทำให้เกิดแรงขับเพื่อให้เกิดพฤติกรรมที่มีเป้าหมาย
ประเภทของแรงจูงใจ
              นักจิตวิทยา แบ่งแรงจูงใจออกเป็น 2 วิธี คือ
1. การแบ่งประเภทของแรงจูงใจตามลักษณะของแรงจูงใจ ลักษณะของแรงจูงใจมี 2 ประเภท คือ แรงจูงใจภายใน และแรงจูงใจภายนอก
2. การแบ่งประเภทของแรงจูงใจตามที่มาของแรงจูงใจ ที่มาของแรงจูงใจมี 3 ประเภท คือ แรงจูงใจทางสรีรวิทยา แรงจูงใจทางจิตวิทยา และแรงจูงใจทางสังคม ซึ่งแรงจูงใจทางสังคมที่เกี่ยวข้องกับการเรียนการสอนยังแบ่งย่อยออกเป็น 4 ชนิด เช่น แรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์  แรงจูงใจใฝ่สัมพันธ์  แรงจูงใจใฝ่พึ่งพา และแรงจูงใจใฝ่ก้าวร้าว
องค์ประกอบที่ทำให้เกิดแรงจูงใจ
          องค์ประกอบที่ทำให้เกิดแรงจูงใจมี 3 ประเภทดังนี้
1.องค์ประกอบทางด้านชีววิทยา ได้แก่ การทำงานของร่างกาย
2.องค์ประกอบด้านความคิด ได้แก่ ความคิดเรื่องต่างๆของคน เป็นต้น
3. องค์ประกอบด้านการเรียนรู้ จากการที่มนุษย์ไดเรียนรู้สิ่งต่างๆ ซึ่งเป็นผลจากสังคมที่เขาอยู่
ทฤษฎีแรงจูงใจ
            ในการศึกษานักจิตวิทยามีความคิดเห็นเกี่ยวกับแรงจูงใจต่างๆกันจึงมีทฤษฎีแรงจูงใจหลายทฤษฎีแต่จะกล่าวเพียง 6 ทฤษฎีดังนี้
1. ทฤษฎีสันชาตญาณ
2. ทฤษฎีแรงขับ
3. ทฤษฎีการตื่นตัว
4. ทฤษฎีความคาดหวัง
5. ทฤษฎีความต้องการตามลำดับขั้นของ มาสโลว์
6. ทฤษฎีปัญญานิยม
วิธีการสร้างแรงจูงใจในการเรียนการสอน
1. ตั้งจุดมุ่งหมายในการเรียนการสอน
2. การใช้สิ่งล่อใจกระตุ้นให้ผู้เรียนอยากเรียน เช่น คำชมเชย คะแนน รางวัล ฯลฯ
3.การแข่งขัน กระตุ้นให้ผู้เรียนมีความอดทนและปรับปรุงการเรียนของตนให้ดีขึ้น
สรุป    การจัดประสบการณ์เพื่อส่งเสริมความพร้อมในการเรียนการสอน ครูควรส่งเสริมความพร้อมของเด็กในช่วงวัยต่างๆให้เหมาะสมกับการส่งเสริมความพร้อมในการเรียน และวิธีการสร้างแรงจูงใจในการเรียนการสอนนั้น ครูจะต้องกระตุ้นให้เด็กมีความหวัง  ความภูมิใจ มีความพอใจที่จะเรียนและอยากประสบความสำเร็จด้านการเรียน การสร้างแรงจูงใจต้องใช้แรงจูงใจภายนอก และแรงจูงใจภายใน

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น